วันอังคารที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2560

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญ : ผักอาหารสีเขียวที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เป็นกากใยช่วยในการขับถ่าย ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ทั้งยังอุดมด้วยแร่ธาตุและวิตามินต่าง ๆ อีกมากมาย ซึ่งผักสามารถนำไปทำอาหารได้หลากหลาย ทั้งต้ม ผัด แกง ทอด หรือทานสด ๆ เป็นเมนูสลัด หรือจิ้มกับน้ำพริกแบบไทย ๆ ก็อร่อย  หลายปีมานี้ผลวิจัยหลายชิ้นต่างให้ความเห็นไปในทางเดียวกันว่าอาหารทอด ทั้งมันฝรั่งทอด ไก่ทอด ลูกชิ้นทอด รวมไปถึงผักทอด ล้วนก่อให้เกิดโทษต่อร่างกาย ทำให้เกิดโรคอ้วนและคอเลสเตอรอลในร่างกายสูง เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดตีบตัน นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารก่อมะเร็งทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งมากกว่าคนปกติอีกด้วย หลายคนจึงหันไปทานผักนึ่งหรือผักต้มแทน ซึ่งเชื่อว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าการนำไปผัดหรือทอดด้วยน้ำมัน แต่ความกรุบกรอบของผักทอด และความกลมกล่อมของผัดผักยังอยู่ในใจหลาย ๆ คน บางคนทานไปก็รู้สึกผิดต่อร่างกายไป แต่หลังจากนี้เราไม่ต้องรู้สึกผิดเมื่อทานเฟรนช์ฟรายหรือผักทอดอื่น ๆ อีกต่อไปแล้ว เพราะผลวิจัยจากมหาวิทยาลัยกรานาดา ประเทศสเปน ที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร Food Chemistry ฉบับที่ 188 วันที่ 1 ธันวาคม 2559 ชี้ให้เห็นว่าผักที่ทอดในน้ำมันอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าการปรุงโดยวิธีอื่น เช่น การต้ม การปิ้ง เป็นต้น ทั้งนี้ เราจึงอยากศึกษาในเรื่องของผักทอดให้รู้รายละเอียดที่มากขึ้น
จุดประสงค์ของการศึกษา
1. ให้เด็กหรือผู้ใหญ่ที่ไม่ชอบรับประทานผัก ได้ลองรับประทานผักในรูปแบบใหม่ๆ
2. เพื่อเป็นการนำผักที่มีมาก นำมาแปรรูปเป็นผักทอดที่อร่อย ถูกหลักอนามัย
3. เพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
4. เพื่อฝึกพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ในด้านการประกอบอาหาร
ขอบเขตการศึกษา
สถานที่ : โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม , บ้านของสุธารินี

ระยะเวลาการศึกษา

วันที่ 20 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2560 ถึง วันที่ 25 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2560

บทที่ 2 เอกสารและโครงงานที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 2
เอกสารและโครงงานที่เกี่ยวข้อง
ผักบุ้ง
ชื่อวิทยาศาสตร์        Ipomcea aquatica Forsk
ชื่อสามัญ                Swamp Morning Glory, Water Morning Glory
วงศ์                         CONVOLVULACEAE
ชื่ออื่นๆ                  ผักทอดยอด(กรุงเทพฯ) ผักบุ้งไทย(กลาง) ผักบุ้ง(ทั่วไป)ผักบุ้งแดง ผักบุ้งไทย ผักบุ้งนา กำจร(ฉานขแม่ฮ่องสอน)
ลักษณะ : ผักบุ้งเป็นไม้น้ำและเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเลื้อยทอดไปตามน้ำหรือในที่ลุ่มที่มีความชื้นหรือดินแฉะๆ ลำต้น กลวงสีเขียวมีข้อปล้องและมีรากออกตามข้อได้เป็นใบเดี่ยวออกแบบสลับเช่นรูปไข่รูปไข่แถบขอบขนานรูปหอก รูปหัวลูกศรขอบใบเรียบหรือมีควั่นเล็กน้อยปลายปลายใบแหลมหรือมนฐานใบเว้าป็นรูปหัวใจใบยาว3-15ซม. กว้าง1-9ซม. ดอกเป็นรูประฆังออกที่ซอกใบแต่ละช่อมีดอกย่อย1-5ดอก กลีบเรียงสีเขียวกลีบดอกมีทั้งสีขาว สีม่วงแดง สีชมพูม่วงกลีบดอกจะติดกันเป็นรูปกรวยมีสีขาวอยู่ด้านบนและมีสีม่วงหรือสีชมพูอยู่ที่ฐาน เกสรตัวผู้มี 5 อันยาวไม่เท่ากันผลเป็นแบบแคปซูลรูปไข่หรือกลมสีน้ำตาลมีเมล็ดกลมสีดำ
คุณค่าทางอาหาร : รสจืดเย็นช่วยขับพิษถอนพิษเบื่อเมาผักบุ้งขาว 100 กรัมให้พลังงานต่อร่างกาย 22 กิโลแคลอรี่ประกอบด้วย เส้นใย101กรัมแคลเซียม3มิลลิกรัมฟอสฟอรัส22มิลลิกรัมเหล็ก3มิลลิกรัมวิตามินเอ11447IU วิตามินบีหนึ่ง 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง0.17มิลลิกรัมไนอาซิน1.3มิลลิกรัมวิตามินซี 14 มิลลิกรัม
ประโยชน์ : สำหรับอาหารสมุนไพรที่ขึ้นชื่อในการบำรุงสายตา คือ ผักบุ้ง เป็นผักที่มีวิตามินเอสูง ช่วยในการบำรุงสายตา แม้จะมีผักตัวอื่นๆ ที่มีวิตามินเอเช่นกัน แต่ก็ไม่ได้รับการระบุว่าเป็นผักบำรุงสายตาอย่างผักบุ้งเลย คนโบราณแนะลูกหลานกินผักบุ้งตาหวาน แม้ว่าจะไม่รู้ว่าผักบุ้งมีวิตามินเอที่มีประโยชน์ต่อสายตาก็ตามแต่ ผักบุ้งจึงได้ชื่อว่าเป็นผักที่เป็นมิตรกับสายตา สรรพคุณระบุว่า แก้ตาฟางหรือตาบอดกลางคืนได้ดี ช่วยให้หายแสบตาจากอาการตาแห้ง และลดอาการปวดกระบอกตาในกรณีที่ใช้สายตาเยอะๆ ถ้าช่วงนี้ใครที่รู้สึกว่าปวดตา ใช้สายตาเยอะ ตาแห้ง และค่อนข้างล้า ลองกินผักบุ้งเยอะๆ แล้วจะพบว่ามันช่วยได้จริงๆการกินผักบุ้งไม่ว่าจะผักบุ้งไทย ผักบุ้งจีน ล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการบำรุงสายตาทั้งสิ้น ถ้าใครที่กินผักบุ้งมาตั้งแต่เด็กๆ จนอายุมากขึ้นก็จะยังคงมีสายตาดี ไม่มีปัญหาเรื่องสายตายาว และเชื่อว่ากินประจำยังช่วยป้องกันต้อกระจกได้ด้วย ดังนั้น ผู้ปกครอง คุณพ่อ คุณแม่ ควรให้ลูกได้กินผักบุ้งเยอะๆ หรืออย่างสม่ำเสมอ ให้ได้รับสารบำรุงสายตาตั้งแต่เด็กๆ เป็นการบำรุงอย่างสะสมทรัพย์ จะเป็นการช่วยให้ลูกหลานมีสายตาดีจนชั่วชีวิตของพวกเขา ในทางโภชนาการผักบุ้งยังมีสารสำคัญอื่นๆ นอกเหนือจากวิตามินเอที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย อาทิ แคลเซียม วิตามินซี เส้นใยอาหาร คาร์โบไฮเดรต เหล็ก ฟอสฟอรัส มากน้อยแตกต่างกันไป
สรรพคุณทางยา
ราก ใช้ถอนพิษ แก้ผิดสำแดง แก้โรคตา แก้ตกขาวในสตรี แก้ปวดฟันเนื่องจากฟันเป็นรู แก้ไอเรื้อรัง แก้เหงื่อออกมาก แก้บวม แก้พิษงูเห่า เถา ถอนพิษ แก้พาเบื่อเมา ถอนพิษยาทั้งปวง แก้ตาฟาง แก้โรคตา ยอดอ่อน ถอนพิษ รักษาริดสีดวงทวาร แก้เด็กเป็นหวัด ใบ แก้พิษขนของบุ้ง รักษาริดสีดวงทวาร ถอนพิษยาเบื่อเมา แก้ตาฟาง แก้พิษฝี ปวด อักเสบ ดอกตูม รักษากลากเกลื้อน ทั้งต้น รักษาตาแดง รักษาตาฟาง รักษาตามัว แก้เบาหวาน แก้ปวดศีรษะ แก้ผิวหนังผื่นคัน แก้กลากเกลื้อน เป็นยาระบาย แก้ไข้ แก้โรคนอนไม่หลับ ถอนพิษ แก้พิษเบื่อเมา
ตัวอย่างในการใช้ผักบุ้งรักษาโรคต่างๆ ได้แก่
- แก้เลือดกำเดาออกมากผิดปกติ ใช้ต้นสดตำผสมน้ำตาลทรายชงน้ำร้อนดื่ม
- แก้หนองใน ปัสสาวะเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด ใช้ลำต้นตำคั้นนำน้ำมาผสมกับน้ำผึ้งดื่ม
- แก้ริดสีดวงทวาร ใช้ต้นสด 1 กิโลกรัม กับน้ำ 1 ลิตร ต้มให้เละ เอากากทิ้งใส่น้ำตาลทรายขาว 120 กรัม เคี่ยวให้ข้นเหนียว ทานครั้งละ 90 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จนหาย
- แก้แผลมีหนองช้ำ ใช้ต้นสดต้มน้ำให้เดือดนานๆ ทิ้งไว้พออุ่นเอาน้ำล้างแผลวันละครั้ง
- แก้พิษตะขาบกัด ใช้ต้นสดเติมเกลือ ตำพอกแผล
- ฟันเป็นรูปวด ใช้รากสด 120 กรัม ผสมน้ำส้มสายชู คั้นนำน้ำอมบ้วนปาก

ฟักทอง
ชื่อสามัญ Pumpkin
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cucurbita moschata Decne.
ชื่ออื่น ภาคกลางเรียกว่า ฟักทอง ภาคเหนือเรียกว่า ฟักเขียว มะฟักแก้ว น้ำเต้า เลย เรียกว่า มะน้ำแก้ว อีสานเรียกว่า หมากฟักทอง หมากฮึ
ถิ่นกำเนิด แถบอเมริกากลาง
แหล่งปลูก ปลูกได้ทั่วทุกภาค แต่ปลูกมากในแถบภาคอีสาน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ฟักทองเป็นพืชล้มลุก ลำต้นเป็นเถาทอดเลื้อยไปตามพื้อนดิน มีหนวดยาวที่ข้อไว้สำหรับยึดเกาะ ใบหยักเป็นรูปห้าเหลี่ยมสีเขียวขนาดใหญ่ มีขนขึ้นปกคลุมทั้งลำต้นและใบ ดอกสีเหลืองเป็นรูปกระดิ่ง มีกลีบ 5 กลีบ ผลสีเขียว ผิวเป็นตุ่มนูนหยักเป็นร่องจากขั้วถึงก้น เนื้อแน่นแข็ง ฟักทองอ่อนเนื้อสีเหลือง ฟักทองแก่เนื้อสีเหลืองเข้ม เมล็ดแบนรี สีขาวนวล ผลจะมีสีเขียวเข้ม เนื้อสีเหลือง เหนียว รสหวาน มัน เมล็ดน้อย
สรรพคุณทางยา : ฟักทองมีเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยป้องกันมะเร็ง เมล็ดฟักทอง ช่วยป้องกันไม่ให้ต่อมลูกหมากโต ป้องกันและรักษาโรคนิ่ว โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ช่วยขับพยาธิตัวตืด น้ำมันจากเมล็ดช่วยบำรุงประสาท ราก ต้มดื่มเป็นยาบำรุงและแก้ไอ
คุณค่าอาหาร : เนื้อและเปลืกฟักทอง 100 กรัม ให้พลังงาน 43 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย เส้นใย 1.7 กรัม แคลเซียม 2.1 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 1.7 มิลลิกรัม วิตามินเอ 3 , 266 iu. วิตามินบี1 0.10 มิลลิกรัม ไนอะซิน 1.1 มิลลิกรัม วิตามินซี 52 มิลลิกรัม
ฤดูกาล : ยอดอ่อนและดอกอ่อนออกในฤดูฝน ผลฟักทองออกในฤดูหนาวช่าวงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธุ์
การกิน : ยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกตูม นำไปลวกจิ้มน้ำพริก ผัดน้ำมันหอย ใส่ในแกงหน่อไม้ แกงเลียง แกงเผ็ด ผัดใส่ไข่ ผลแก่นำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด รวมทั้งนำไปทำขนมหวาน เช่นฟักทองแกงบวช สังขยาฟักทอง ฟักทองเชื่อม เมล็ดนำเอามาอบกะเทาะกินเนื้อข้างใน

แครอท
ชื่อวิทยาศาสตร์    Daucus carota L.
วงศ์                  Umbelliferae
ชื่อสามัญ            Carrot
ชื่ออื่นๆ               ผักกาดหัวเหลือง ผักหัวชี
ลักษณะ : แครอทเป็นไม้ล้มลุก อายุ 1 - 2 ปี หัวเป็นสีส้ม และมีสารแคโรทีนอยู่เป็นจำนวนมาก รากยาวเรียว ใบมีลักษณะเป็นฝอย แครอท เป็นพืชกินหัวชนิดหนึ่ง มีลักษณะยาว หัวแครอทมีหลายสี เช่น เหลือง ม่วง ส้ม แต่ที่นิยมรับประทานในปัจจุบันคือสีส้ม เป็นพืชแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียกลาง มีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กเท่าแท่งดินสอ หรือที่เรียกว่าเบบี้แครอท ไปจนถึง ขนาดใหญ่
มีถิ่นกำเนิด อยู่แถบเอเชียกลาง จนถึงทางตะวันออก ต่อมาได้เผยแพร่เข้าไปใน ยุโรป และประเทศจีน แครอทเป็นพืชสองฤดู โดยฤดูแรกเจริญทางต้น ใบ และราก  ฤดูที่สองจะเจริญทางดอก และเมล็ด ลักษณะลำต้นเป็นแผ่นใบ จะเจริญจากลำต้น เป็นกลุ่มมีก้านใบยาว  ประกอบด้วย เปลือกบาง(Periderm) และส่วนของเนื้อ(Cortex) ซึ่งประกอบด้วยท่ออาหาร และเป็นแหล่งเก็บ อาหารสำรอง ส่วนใหญ่อยู่ในรูป ของน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ 45-65% ของหัว เนือสีขาว เหลือง ส้ม แดง ม่วงและดำ ส่วนของแกน(inner core) ประกอบด้วย ท่อน้ำ(xylem) และแกน(pith) แครอท สายพันธุ์ที่มีคุณภาพสูง จะมีแกนขนาดเล็ก และมีสีเดียว กับเนื้อหรือมีส่วนของเนื้อ มากกว่าส่วนของแกน การปลูกฤดูที่สองเพื่อผลผลิตเมล็ดพันธุ์ลำต้นจะยืดตัว สร้างก้านดอกยาว 2-4 ฟุต บนยอดมีช่อดอก ซึ่งช่อแรกจะเจริญ จากส่วนกลางของลำต้น ต่อจากนั้นช่ออื่นๆ จะเจริญตาม การผสมเกสรจะเป็น แบบผสมข้าม ส่วนใหญ่ แมลงเป็นตัวช่วยผสมเกสร
คุณค่าทางอาหาร : แครอท เป็นพืชที่อุดมไปด้วยสาร Beta carotene โดยเฉพาะบริเวณส่วนของเปลือกแก่ ซึ่งสามารถเปลี่ยน เป็นวิตามินเอสูง (11,000 IU) นอกจากนี้ยังมีวิตามินบี 1 บี 2 และวิตามินบี วิตามินเอ ช่วยทำให้ร่างกาย มีภูมิต้านทานโรคหวัด ป้องกันมะเร็ง ป้องกันอาการผิดปกติ ในกระดูก โรคผิวหนัง และรักษาสายตา
ประโยชน์ : สารเบต้าแคโรทีนที่ช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งเซลล์ของมะเร็ง ต่อต้านการเกิดเซลล์มะเร็งได้เป็นอย่างดี โดยจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งในปอดได้ ซึ่งคนที่กินผักที่มีเบต้าแคโรทีนน้อยที่สุด จะเสี่ยงต่อมะเร็งในปอดมากเป็นเจ็ดเท่าของคนที่กินมากที่สุด นอกจากนั้นแล้วก็ยังช่วยให้ตับขับสารพิษออกจากร่างกายได้ดี
และยังมีแคลเซียมเพคเตทที่ช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอล ลดการเกิดโรคหัวใจและภาวะหัวใจล้มเหลว นอกจากนั้นในแครอทยังมีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงและลดการเสื่อมของตา มีสารต่างๆ ที่เป็นทั้งเกลือแร่และวิตามินอีกมากมาย เช่นธาตุแคลเซียม มีฟอสฟอรัส เหล็ก มีวิตามินเอ บี1 บี2 และวิตามินซี อีกทั้งยังช่วยบำรุงเซลล์ผิวหนังและเส้นผมให้มีสุขภาพดีอีกด้วย
หัวแครอทมีวิตามินเอสูง ใช้รับประทานเพื่อบำรุงสายตา แก้โรคตาฟาง ใช้เป็นยาขับปัสสาวะเนื่องจากมีปริมาณเกลือโปแตสเซี่ยมสูง และยังสามารถใช้เป็นยาขับพยาธิไส้เดือนได้อีกด้วย
แครอทมีสาร "เบต้าแคโรทีน" ที่ช่วยยับยั้งเซลล์ของมะเร็งและต่อต้านการสารอนุมูลอิสระซึ่งเป็นต้นกำเนิดเซลล์มะเร็งได้เป็นอย่างดี มีส่วนช่วยให้ตับขับสารพิษออกจากร่างกาย แคลเซียมเพคเตทในแครอท ช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอล ลดการเกิดโรคหัวใจและภาวะหัวใจล้มเหลว บำรุงเซลล์ผิวหนังและเส้นผม นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม มีฟอสฟอรัส เหล็ก มีวิตามินเอ บี1 บี2 และวิตามินซี แต่การกินแครอทสีส้มจำนวนมากเป็นประจำจะทำให้สีผิวเป็นสีเหลือง
เคล็ดลับ : เคล็ดลับของการรับประทานแครอทให้ได้คุณค่านั้นมีอยู่ว่า ควรนำไปปรุงให้สุกเสียก่อน ความร้อนจะช่วยทำลายผนังเซลล์ของแครอท ทำให้ร่างกายนำเลต้าแคโรทีนไปใช้ในการต่อต้านอนุมูลอิสระได้มากขึ้น เซลล์ผิวแข็งแรงขึ้น ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งผิวหนัง และหากนำแครอทนึ่งสุกบดละเอียด พอกหน้า 5-10 นาที ผิวจะดูเปล่งปลั่งและสุขภาพดีขึ้นได้ ชาวอเมริกันใช้แครอทเป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้าน ใช้เป็นยาครอบจักรวาลรักษาได้หลายโรค เช่น แก้โรคประสาท โรคผิวหนัง และหืดหอบ อย่างไรก็ตามควรทานอาหารให้หลากหลายด้วย จะช่วยเพิ่มพูนประโยชน์จากอาหารให้มากขึ้น

เห็ดหิมะ
ชื่อไทย          :  "เห็ดหิมะ"
ชื่อสามัญ        :   Milky
ชื่ออื่น            :  ในอินเดียเรียกว่าเห็ด Sawetha (สเว-ทา, มาจากภาษาสันสกฤตคำว่า เศวต =                                              ขาว หรือบริสุทธิ์)
เห็ดโคนขาวหิมะ
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Calocybe Indica
ถิ่นกำเนิด        :   เป็นเห็ดป่าขึ้นอยู่ทางเบงกอลตะวันต
ขั้นตอน/เทคนิคการเพาะเห็นมิลค์
การเตรียมทำก้อนเห็ดมิลค์กี้ ใช้วิธีการเดียวกับการเพาะเห็ดนางฟ้าและเห็ดนางรมทั่วไป โดยเกษตรกรต้องเตรียมวัตถุดิบเพื่อเป็นส่วนผสมในการเพาะเห็ดประกอบด้วย ขี้เรื่อย 100 กิโลกรัม, รำละเอียด 5 กิโลกรัม, ดีเกลือ 0.02 กิโลกรัม, ปูนขาว 1 กิโลกรัม และยิปซัม 2 กิโลกรัม
ขั้นตอนการเตรียมวัสดุ : เมื่อเราได้วัตถุดิบตามปริมาณที่ต้องการแล้ว หลังจากนั้นนำส่วนผสมทั้งหมดคลุกเคล้าให้เข้ากันและบรรจุใส่ถุงพลาสติก เป็นก้อนเชื้อที่มีน้ำหนักก้อนละประมาณ 0.8-1 กิโลกรัม สัดส่วนนี้จะทำให้ได้ก้อนเชื้อเห็ดประมาณ 160-170 ก้อน หลังจากนั้นอัดให้แน่นแล้วให้ใส่คอขวดพลาสติก อุดด้วยสำลีและปิดด้วยกระดาษ รัดยางวงให้แน่น
ขั้นตอนของเชื้อเห็ด : จากนั้นนำก้อนเชื้อที่ได้ไปนึ่งฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ด้วยการนึ่งฆ่าเชื้อ 3-4 ชั่วโมง แล้วทิ้งไว้จนก้อนเชื้อเย็น หลังจากนั้นนำหัวเชื้อเห็ดมิลค์กี้มาหยอดลงในก้อนเชื้อ และปิดปากถุงด้วยสำลีหรือกระดาษทันที เมื่อเสร็จเรียบร้อยน้ำก้อนเห็ดไปบ่มไว้ในโรงเรือน ประมาณ 40-50 วัน เส้นใยจะเดินเต็มถุงก้อนเชื้อ
ขั้นตอนการเพาะเห็ด : จากนั้นทำการ Casing โดยการเปิดปากถุง ใช้ดินกลบประมาณนิ้วครึ่ง รดน้ำให้ชื่นแต่อย่าแฉะ ซึ่งจะทำให้ได้ดอกเดี่ยวไม่ใหญ่มาก แต่หากต้องการให้ดอกมีขนาดใหญ่ให้นำก้อนเชื้อเห็ดที่เส้นใยเดินเต็มแล้ว นำมาเปลือยถุงออกและเรียงก้อนเห็ดลงในแปลงอัดให้แน่น ใช้ดินกลบด้านบนเพื่อให้ดินรักษาความชื้น ส่วนด้านบนนำฟางข้าวมาคลุมและหว่านเมล็ดผัก เช่น ผักบุ้ง ผักชี และอื่นๆ ได้อีกด้วย เส้นใยเห็ดจะเดินเชื่อมติดกันเป็นกลุ่มเดียวและจะเกิดดอกในระยะเวลาประมาณ 30 วัน ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวพืชผักที่เก็บได้พอดี ทำให้เราได้ทั้งผักไว้รับประทานและเห็ดมิลค์กี้ไว้จำหน่าย หรือบางท่านอาจทำควบคู่กันเพื่อการจำหน่ายยิ่งมีรายได้สองเด้งเลยทีเดียว

เห็ดหอม
ชื่อสามัญ :Shiitake Mushroom
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lentinus edodes (Berk.) Sing.
ชื่ออื่น : ญี่ปุ่นเรียกว่า ไชอิตาเกะ เกาหลีเรียกว่า โบโกะ จีนเรียกว่าเฮียโกะ
ภูฏาน เรียก ชิชิ-ชามุ อังกฤษเรียกว่า Black Mushroom หรือ เห็ดดำ
ถิ่นกำเนิด: ประเทศจีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และไต้หวัน
ลักษณะทางพฤกษศาตร์: หมวกเห็ดหอมมีรูปทรงกลม ผิวมีขนรวมกันเป็น เกล็ดหยาบๆ สีขาวกระจายอยู่ทั่วไป ผิวหมวกด้านบนสีน้ำตาล น้ำตาลปนแดงหรือ น้ำตาลเข้ม ครีบดอกเป็นแผ่นบางสีขาว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม ก้านดอกมีสีขาวหรือน้ำตาลอ่อน หากปล่อยไว้ให้ถูกอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม โคนก้านดอกสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีขาว เห็ดหอมเนื้อนุ่ม มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงได้ชื่อว่า เห็ดหอม
ฤดูกาล : ตลอดปีแต่จะให้ผลผลิตดีในช่วบงฤดูหนาว
แหล่งปลูก : ภาคเหนือแถบจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน ภาคอีสานแถบจังหวัดเลยและสกลนคร
การกิน  : เห็ดหอมที่นำมากินมีทั้งเห็ดหอมสดและเห็ดหอมแห้ง หากเป็นเห็ดหอมแห้งจะต้องนำมาแช่น้ำก่อนปรุงอาหาร เช่นเห็ดหอมผัดน้ำมันหอย เห็ดหอมตุ๋น โจ้กเห็ดหอม ใส่ในข้าวผัด และผัดผัก เป้นต้น
สรรพคุณทางยา: คนจีนใช้เห็ดหอมเป็นอายุวัฒนะ รักษาหวัดทำให้เลือดลมดี แกโรคหัวใจ ป้องกันการเติบโตของเนื้อร้าย ต้านพิษงู ป้องกันโรคเลือดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคมะเร็ง โรคร้ายจากเชื้อไวรัส เห็ดหอมมีกรดอะมิโนชื่อ eritadenine ช่วยให้ไตย่อยโคเลสเตอรอล ได้ดี มีสารเลนติแนน (Lentinan)ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ ในระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพ ในการต่อสู้กับเซลล์เนื้องอก ป้องกัน และต้านมะเร็ง

 บรอคโคลี่
ชื่อวิทยาศาสตร์     Brassica olercea L. Var italica
ชื่อสามัญ             Broccoli
วงศ์                   Brassicaceae
ลักษณะ : บรอคโคลี่เป็นผักที่ปลูกเพื่อ บริโภคส่วนของดอกอ่อน และก้าน ส่วนของดอกบร็อคโคลี่ จะมีสีเขียวประกอบด้วย ดอกย่อยขนาดเล็กสีเขียว เป็นจำนวนมาก ที่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ มีลักษณะแน่น แต่ไม่อัดตัวกันแน่น เหมือนดอกกะหล่ำ บร็อคโคลี่มีถิ่นกำเนิด อยู่ทางตอนใต้ ของยุโรป แถบประเทศอิตาลี นำเข้ามาปลูกในเมืองไทย โดยปลูกในพื้นที่ภาคเหนือ ของประเทศไทย เนื่องจากเป็นผัก ชนิดใหม่ และปลูกได้ดี ในช่วงหน้าหนาว ทำให้ราคาค่อนข้างแพง ปัจจุบันมีการพัฒนาสายพันธุ์ ให้ทนร้อนมากขึ้น ทำให้สามารถผลิตได้ดี เฉพาะบนที่สูง หากมีการเลือกใช้สายพันธุ์ ที่เหมาะสม
คุณค่าทางอาหาร : บรอกโคลี เป็นพืชเมืองหนาวอยู่ในตระกูลเดียวกันกับกะหล่ำปลี กะหล่ำดอก คะน้าและผักกาด เป็นผักที่มีคุณภาพสูงสำหรับการประกอบอาหารและการแปรรูป เช่น แช่แข็ง เป็นพืชที่ตลาดต้องการสูงเนื่องจากมีคุณค่าทางอาหารสูง สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกายอมรับว่าเป็นพืชที่ต่อต้านมะเร็ง ประกอบด้วยวิตามินเอ แคลเซียม ไรโบฟลาบิน  หรือวิตามินบี 2 เป็นต้น.
ส่วนที่นำมาบริโภคคือส่วนของกิ่งหรือลำต้นอ่อนและกลุ่มดอกตูม ดอกอาจจะมีสีเขียว ม่วง    ม่วงเข้ม สีเทา สีม่วงปนน้ำตาล
ประโยชน์ : บร็อกโคลีมีสารที่เรียกว่า ซัลโฟราเฟน(sulforaphane) ซึ่งเป็นสารป้องกันโรคมะเร็ง บร็อกโคลี 1 ถ้วยตวง ให้วิตามินซีมากถึง 13% ของปริมาณวิตามินซีที่เราควรรับประมทานต่อวัน  และบร็อกโคลี่ อุดมด้วยเบต้า-แคโรทีน  นอกจากจะเป็นแหล่งวิตามินเอทีสำคัญ   บร็อกโคลี่ ยังมีธาตุซีลีเนียมที่มีสรรพคุณช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้ผิวหนังอีกด้วย  ดังนั้น การรับประทานบร็อกโคลี่เป็นประจำจะช่วยชะลอผิวพรรณไม่ให้เหี่ยวย่นง่าย ดูอ่อนกว่าวัยเป็นหนุ่มสาวอยู่ตลอดเวลา
 สรรพคุณ
- ช่วยป้องกันมะเร็ง
- อุดมด้วยวิตามินซี สารแอนตี้ออกซิแดนท์ ที่ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ ในร่างกาย และยังช่วยให้ผนังเส้นเลือดแข็งแรงอีกด้วย
- ประกอบด้วยสาร glutathione ซึ่งช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดไขข้ออักเสบ เบาหวาน และโรคหัวใจ และนอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ของร่างกาย        ลดระดับคลอเลสเตอรอล และช่วยลดความดันโลหิตสูง
- ป้องกันการเกิดต้อกระจก เนื่องจากบร็อคโคลี่ จะมีสารเบต้าแคโรทีนสูง โดยเฉพาะสาร lutein

ข้าวโพดอ่อน
ชื่อวิทยาศาสตร์    Zea mays Linn.
วงศ์                  ZINGIBERACEAE
ชื่อสามัญ           Baby Corn.
ชื่อท้องถิ่น          ข่าหยวก ข่าหลวง (ภาคเหนือ) , กฏุกกโรหินี (ภาคกลาง)
 ลักษณะ : ข้าวโพดเป็นพืชพวกหญ้า มีลำต้นแข็งแรง และตั้งตรงคล้ายต้นอ้อย ความสูงของลำต้นแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ อาจมีความสูงตั้งแต่ 30 เซนติเมตร ไปจนถึง 6 เมตร ลำต้นเป็นปล้องๆ อาจมีตั้งแต่ 8-20 ปล้อง ใบยาวเรียวเกาะติดกับต้น ฝักข้าวโพดจะเกิดตรงข้ออยู่ตรงส่วนกลางของลำต้น โดยมีเปลือกเป็นกลีบบางๆ สีเขียว มีหลายชั้นห่อหุ้มอยู่เปลือกชั้นนอกมีสีเขียวแก่กว่าชั้นใน ปลายฝักมีเส้นเล็กๆ สีเขียวอ่อนใสบางเหมือนเส้นผม เรียกว่าไหมข้าวโพด หรือ ฝอยข้าวโพด ข้าวโพดต้นหนึ่งอาจมีหลายฝักก็ได้ และเมล็ดข้าวโพดที่เรารับประทานมีหลายสี เช่น สีนวล สีเหลือง สีม่วง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ โดยจะเกาะติดอยู่ตรงส่วนที่เป็นแกนกลางเรียกว่าซักข้าวโพด
   ประโยชน์ : โดยจะประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต เบต้าแคโรทีน วิตามินซี แคลเซียม เส้นใยอาหาร ฟอสฟอรัส เป็นสารประกอบกับแคลเซียมในการสร้างกระดูกและฟัน ช่วยให้การหลั่งน้ำนมเป็นไปตามปกติ ช่วยสร้างเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ รวมกับธาตุอื่นรักษาสมดุลความเป็นกรด-ด่างในร่างกาย  ถ้ากินข้าวโพดอ่อนเป็นประจำ จะช่วยลดคลอเรสเตอรอลในเลือด ป้องกันเส้นเลือดแข็งตัว ช่วยย่อยอาหาร ลดอาการบวมน้ำ รักษาโรคไตอักเสบเรื้อรัง โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง และจมูกอักเสบเรื้อรัง ช่วยบำรุงหัวใจ ทำให้เจริญอาหาร กระตุ้นให้กระเพาะและลำไส้ทำงานได้ดีอีกด้วย
นอกจากประโยชน์ในรูปของอาหารแล้ว ข้าวโพดยังมีประโยชน์ในอุตสาหกรรมเครื่องอุปโภคหลายชนิด เช่น ทำสบู่, น้ำมันใส่ผม, น้ำหอม, กระดาษ, ผ้า ตลอดจนฝัก, ใบ, ลำต้น ยังนำมาใช้ทำผลิตภัณฑ์อีกหลายอย่าง อาทิ ปุ๋ย, วัตถุฉนวนไฟฟ้า ซังข้าวโพดแห้งยังใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มได้ข้าวโพดมีสรรพคุณทางยา อาทิ ช่วยบำรุงร่างกาย, หัวใจ, ปอด, ขับปัสสาวะ  และนำมาพอกรักษาแผล
  คุณค่าทางอาหาร :
ข้าวโพดอ่อน 100 กรัม ให้พลังงาน 33 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย น้ำ 91.8 กรัม โปรตีน 2.3 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5.3 กรัม แคลเซียม 4 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 12 ไมโครกรัม ไทอะมิน 0.13 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.4 มิลลิกรัม วิตามินซี 23 มิลลิกรัม
"ข้าวโพด"มีคุณค่าทางอาหารมากมาย ประกอบไปด้วยสารอาหาร ดังนี้
- คาร์โบไฮเดรต  "ข้าวโพด"มีคาร์โบไฮเดรตประมาณร้อยละ 72 ข้าวโพดหนัก 1 กรัม ให้พลังงาน 4 แคลอรี่
-  ไขมัน  เมล็ดข้าวโพดมีไขมันอยู่ร้อยละ 4 มีฤทธิ์ช่วยควบคุมคอเลสเตอรอล ช่วยลดความดันโลหิตสูง
-  โปรตีน  โปรตีนในข้าวโพดเป็นโปรตีนที่ไม่สมบูรณ์ เพราะจากกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายคือไลซีนและทริบโตฟาน ควรรับประทานข้าวโพดร่วมกับถั่วเมล็ดต่างๆ
-  วิตามิน  อุดมด้วยวิตามินบี 1 และวิตามินบี 2 รวมไปถึงเกลือแร่ด้วย

กระหล่ำดอก
ชื่อวิทยาศาสตร์     Brassica oleracea L. var. botrytis L. Cruciferae
ชื่อสามัญ             Cauliflower
วงศ์                   BRASSICACEAE
ลักษณะ :
เป็นผักประเภทอายุปีเดียวและอายุสองปี แต่ส่วนใหญ่ปลูกเป็นผักอายุปีเดียว ลำต้นสูงประมาณ 40-55 เซนติเมตร ขนาดดอกหนักประมาณ 0.5-1.20 กิโลกรัม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10-20 เซนติเมตร มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 60-90 วัน
กะหล่ำดอก เป็นพืชผักที่ใช้บริโภคส่วนของดอกที่อยู่บริเวณปลายยอดของลำต้น ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนสีขาวถึงเหลืองอ่อน อัดตัว กันแน่น อวบและกรอบ ซึ่งนิยมเรียกส่วนดังกล่าวว่า ดอกกะหล่ำ ถ้าหากปล่อยให้เจริญเติบโตพัฒนาต่อไป ก็จะเป็นช่อดอก และ ติดเมล็ดได้
คุณค่าทางอาหาร
มีวิตามินซีสูงมาก ดอกกะหล่ำ 100 กรัม มีวิตามินซีสูงถึง 96 มิลลิกรัม สูงกว่าที่ร่างกายเราต้องการใน 1 วัน คือ 60 มิลลิกรัม เสียอีก นอกจากจะช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันแล้ว ยังช่วยเพิ่มปริมาณสเปิร์มและทำให้สเปิร์มแข็งแรงด้วย ในดอกกะหล่ำมีสารซัลโฟราเฟนที่เพิ่มปริมาณแอนไซม์ที่เป็นหลักในการต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง ช่วยป้องกันมะเร็งที่เต้านมและลำไส้ใหญ่ได้ดี
ประกอบด้วยสารเอนไซม์ต้านมะเร็งชื่อ ซัลโฟราเฟน (sulforaphane)
สารฟีโนลิกส์ (phenolics) สารไอโซไทโอไซยาเนท (isothiocyanates) สารผลึกอินโดล
(indoles) อินโดล ทรี คาร์บินัล (indole-3-carbinal) ไดไทอัลไทโอน (dithiolthiones) กลูโค
ไซโนเลท (glucosinolates) กรดโฟลิก และคูมารีน ( folic acid & coumarines) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกะหล่ำดิบจะมีวิตามินซีสูง มีธาตุโพแทสเซียม กำมะถัน และเส้นใยมาก
ประโยชน์ : ใช้กินเป็นผัก มีสารที่สามารถดึงสารก่อมะเร็ง (carcinogen) ออกจากเซล กลไกที่เกิดขึ้น คือ สารซัลโฟราเฟน ทำให้มีการผลิตเอมไซม์-phase II มากขึ้น ซึ่งสามารถไปลดการผลิตเอ็มไซม์-phase I ที่เป็นอันตราย เพราะเอ็มไซม์ชนิดแรกนี้สามารถไป ทำอันตรายต่อสารพันธุกรรมภายในเซล พืชในวงศ์นี้รวมไปถึง บร็อคโคลี คะน้า และกะหล่ำต่างๆ สารประกอบที่พบแล้วในพืชวงศ์นี้สามารถต้านอนุมูลอิสสระได้ดี มีสารโพแตสเซี่ยมสูง ซึ่งช่วยควบคุมการทำงานของหัวใจ และความดันโลหิต มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยต้านการเกิดมะเร็ง สารซัลโฟราเฟน ช่วยเพิ่มปริมาณเอ็มไซม์ที่เป็นหลักในการต่อสู้กับเซลมะเร็งได้ดีมาก ควรกินเป็นประจำ จะสามารถช่วยป้องกันมะเร็งเต้านมและลำไส้ใหญ่ได้ดี กรดโฟลิค ช่วยป้องกันมะเร็ง ลำไส้และมะเร็งเต้านม สารอินโดลส์ คาดว่าช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและต้านมะเร็งบางชนิดได้ดี สารอินโดล-3 คารฝืบินอล ช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม คั้นเอาแต่น้ำอมช่วยรักษาแผลในปาก กลั้วคอแก้คออักเสบ น้ำผักสดช่วยรักษาแผลเรื้อรัง โรคเรื้อนกวาง หอบหืด ไม่ควรปรุงให้สุกเกินไป เพราะ ความร้อนจะไปทำลายคุณสมบัติทางยาได้
สรรพคุณ : ในกะหล่ำดอกจะมีสารที่สามารถดึงสารก่อมะเร็งที่เรียกว่า คาร์ซิโนเจน (carcinogens) ออกจากเซลล์ กลไกที่เกิดขึ้นคือ สารซัลโฟราเฟน (sulforaphane) ทำให้มีการผลิตเอนไซม์เฟสทูมากขึ้น (phase II) ซึ่งสามารถไปลดการผลิตเอนไซม์เฟสวัน (phase I) ที่เป็นอันตรายได้ เพราะเอนไซม์เฟสทู สามารถไปทำอันตรายสารพันธุกรรมในเซลล์ (cellular DNA) และจากรายงานผลการวิจัยที่เป็นข่าวฮือฮาเมื่อต้นปีที่แล้วพบว่า พืชในวงศ์ ครูซิเฟอร์อี้ (Cruciferae) ซึ่งรวมถึง บร็อคโคลี คะน้า ผักกาดขาว และกะหล่ำต่างๆ มีสารประกอบที่สามารถต้านอนุมูลอิสระได้ดี ดังนั้นจึงช่วยต้านมะเร็งได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีรายงานว่า ผักดังกล่าวช่วยป้องกันมะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ดี และจากการที่มีโพแทสเซียมสูงนี้เอง จึงช่วยควบคุมการทำงานของหัวใจและความดันโลหิตได้อีกด้วย
มีรายงานวิธีการใช้กะหล่ำดอก โดยให้นำกะหล่ำดอกไปคั้นน้ำ แล้วนำน้ำกะหล่ำดอกที่คั้นได้ไปใช้ อมกลั้วปาก พบว่าสามารถรักษาแผลในปาก แก้เจ็บคอ นอกจากนี้ยังพบว่าในน้ำ

กะหล่ำดอกสดช่วยรักษา แผลเรื้อรัง โรคเรื้อนกวาง ปวดศรีษะชนิดเรื้อรัง หอบหืด หลอดลมอักเสบ โดยแนะนำให้ดื่มประมาณ 1- 2 ออนซ์ทุกวัน และหากรับประทานกะหล่ำดอกสดมีคำแนะนำว่า ในการรับประทานกะหล่ำดอกอย่าปรุงสุกเกินไปนะคะ เพราะการปรุงสุกเกินไปจะทำลายคุณสมบัติทางยาของกะหล่ำดอก

บทที่ 3 วิธีการจัดทำโครงงาน

บทที่ 3
วิธีการจัดทำโครงงาน
วัสดุและอุปกรณ์

วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดทำโครงงานได้แก่

1.กระทะ


2.ตะหลิว

3.น้ำมัน
4.ไข่
5.แป้งโกกิ
6.เกล็ดขนมปัง
7.น้ำจิ้มไก่
8.ผงฟู
9.ผักชนิดต่างๆ เช่น แครอท ผักบุ้ง เห็ดโคนขาวหิมะ เห็ดหอม ฟักทอง บล็อกโคลี่ ข้าวโพดอ่อน
วิธีการจัดทำโครงงาน
              





1. ล้างผัก หั่นผัก








2. ผสมแป้ง น้ำเปล่า และไข่ไก่เข้าด้วยกัน คนจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี 
เติมผงฟูและคนให้เป็นเนื้อเดียวกันอีกครั้ง












3. ตั้งกระทะ ใส่น้ำมันสำหรับทอดลงไป 
นำผักที่ต้องการทอดคลุกกับแป้ง พอน้ำมันร้อน 
ใส่ผักที่ชุบแป้งลงไปทอด จนเหลืองกรอบ นำขึ้นสะเด็ดน้ำมัน










4. จัดใส่จาน จิ้มกับน้ำจิ้มตามชอบ




บทที่ 4 ผลการศึกษา

บทที่ 4
ผลการศึกษา

ในการทำโครงงาน การทำผักทอด   มีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยากนัก  และมีอุปกรณ์ในการทำแค่เพียง ผักต่างๆ แป้งโกกิ เกล็ดขนมปัง ผงฟู ไข่  โดยมีวิธีการทำคือนำผักที่เตรียมไว้ไปคลุกแป้งและนำลงไปทอดในกระทะ แต่ที่สำคัญต้องมีขั้นตอนการทำที่สะอาด  ผักทอดถึงจะออกมาอร่อย  และมีรสชาติที่ดี   และในการทำโครงงานการทำผักทอดนี้  ผู้จัดทำได้ทดลองทำผักทอดตามสูตรที่ค้นหามาได้นั้น  ผลปรากฏว่าผักทอดที่ได้มีรสชาติที่อร่อย  สามารถนำมากินสดแบบไม่ต้องจิ้มน้ำจิ้ม  หรือโรยผงที่มีรสชาติต่างๆ ก็จะมีรสชาติที่แปลกไปอีกแบบ  ถือว่าการทำโครงงานนี้ประสบความสำเร็จได้ด้วยดี

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 1 บทนำ ที่มาและความสำคัญ : “ ผัก ” อาหารสีเขียวที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เป็นกากใยช่วยในการขับถ่าย ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ทำให้ผิวพร...